วิธีประกอบตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ

วิธีประกอบตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ

ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ ที่เดียวในประเทศ

สาธิตการประกอบตู้เขี่ยเขื้อกระดาษก่อนใช้งาน
ตู้เขี่ยเชื้แกระดาษ ประกอบง่ายนิดเดียว ดูใน คลิ๊ป ล่างนี้นะครับ แต่ถ้ายังสงสัยประการใด ก็ติดต่อที่ ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ด Tel 081-441-9642 ทุกวันครับ


แนะนำการใช้งานเขี่ยเชื้อเห็ด

ขั้นตอนที่ 1. ใส่หลอดยูวี หรือ UVC(หลอดใส) ลงบนขาหลอดล่างสุด ส่วนบนใส่หลอดนีออน(หลอดสีขาว) ตามคลิ๊ปที่แนะนำไว้ก่อนหน้านี้

ขั้นตอนที่2. ประกอบกล่อง ปิดฝาล็อกให้เรียบร้อยทั้ง 4จุด ตามคลิ๊ปที่แนะนำไว้ก่อนหน้านี้

รูปขยายการเปิดช่องสำหรับสอดมือเข้าไปทำงานภายในตู้เขี่ยเชื้อ

ขั้นตอนที่3. ปิดช่องสำหรับสอดมือเข้าทำงานในตู้ให้สนิท จากนั้น
เสียบปลั๊กไป และเปิดไฟ ( UV)ให้สว่าง อบทิ้งไว้15-30นาที
หมายเหตุ  ขณะใช้งานให้ปิดไฟ UV และเปิดไฟนีออนเท่านั้น

การเตรียมตู้เขี่ยเชื้อกระดาษให้พร้อมทำงาน
เทคนิคที่ต้องรู้ คือแสงยูวี(UVC)ใช้ฆ่าเชื้อโรคอากาศภายในตู้ได้(ความจริงเชื้อโรคตายเพราะความถี่ของยูวี) ถ้าแสงไปถึงทีใดก็จะฆ่าเชื้อโรคได้
  1. ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษใช้ไฟฟ้า 220 VAC(ไฟฟ้าในบ้านทั่วไป)
  2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อควรอบพร้อมตู้ ยกเว้นเชื้อที่จะทำการเขี่ย 
  3. ควรปิดตู้และอบตู้ที้งไว้อย่างน้อย 15-30นาทีก่อนใช้งาน ไม่ต้องพ่น แอลกอฮอร์ในตู้ เพราะไม่ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคเลย 
  4. ปิดหลอดยูวี ทุกครั้งขณะทำงาน
  5. เปิดหลอดนีออน ให้แสงภายในตู้เขี่ยเชื้อ และพัดลมเล็กจะเริ่มทำงาน
  6. ความร้อนที่สะสมไว้ขณะทำงาน ซึ่งเกิดจากตะเกียงแอลกอฮอร์ จะไปรวมกันที่ที่ฝาบนของตู้เขี่ยเชื้อ และจะระบายออกโดยพัดลมเล็ก
  7. กรณีใช้ตู้เขี่ยเชื้อทำงานในสนาม ต้องใช้หินทับที่ขาตู้ไว้กันลม
การใช้งานตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ
  • ไม่ควรทำงานติดต่อกันนานไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง  หลังจากนั้นควรปิดตู้อบยูวีอีกครั้ง 15-30นาที เพื่อให้อากาศภายในตู้ได้ถูกฆ่าเชื้อทั้งหมด
  • ตู้เขียเชื้อกระดาษห้ามโดนน้ำเด็ดขาด
  • ควรเขี่ยเชื้อตอนเช้าเพราะเสื้อผ้า และร่างกายผู้ทำงานสะอาดที่สุด
  • เครื่องมือต้องนึ่ง หรือ ต้มในอุณหภูมิ100 C (น้ำเดือด) และจับเวลาต่อไปอีก30นาที กรณีไม่มีหม้อนึ่งเครื่องมือแบบแรงดัน  ถ้ามีหม้อนึ่งแบบแรงดันทำตามคำแนะนำของสินค้านั้นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น